สิ่งอำนวยความสะดวก
- ท่าเทียบเรือประมงยาว 160 เมตร ให้บริการกับเรือประมงในประเทศและเรือประมงที่เข้าไปทำการประมงในประเทศเมียนม่า
- โรงคลุมคัดเลือกสัตว์น้ำขนาด 1,595 ตารางเมตร
- อาคารโรงดองสัตว์น้ำ 1 หลัง ขนาด 3,368 ตารางเมตร
- อาคารพาณิชย์และที่พักอาศัยของชาวประมง 61 คูหา
- โรงงานปลาป่น จำนวน 2 โรงกำลังผลิตวันละ 70 ตัน
- สถานีบริการจำหน่ายน้ำมัน 1 แห่ง
- อู่เรือ คานเรือ 1 แห่ง
- ศูนย์บริการอาหารครบวงจร
- ท่าจอดเรือจ้างระหว่างจังหวัดระนองและเกาะสอง ประเทศเมียนม่า
- การให้บริการเครื่องมืออุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องกว้านยกสัตว์น้ำจำนวน 6 ตัว
การดำเนินงานและการให้บริการ
การให้บริการขนถ่ายและจำหน่ายสัตว์น้ำ – ท่าเทียบเรือประมงระนองมีท่าเทียบเรือประมงสำหรับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ความยาว 160 เมตร พร้อมอุปกรณ์เครื่องกว้านยกสินค้าสัตว์น้ำให้บริการแก่ชาวประมงจำนวน 6 ตัว โรงคลุมเพื่อใช้ในการรวบรวมและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำ ขนาดพื้นที่ประมาณ 300 ตารางวา
การควบคุมดูแลคุณภาพสัตว์น้ำ –ท่าเทียบเรือประมงระนอง มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลคุณภาพสัตว์น้ำโดยมีการกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมง เช่น การคัดเลือกกสัตว์น้ำที่ถูกสุขลักษณะ การตรวจประเมินคุณภาพสัตว์น้ำเบื้องต้น(Sensory Checking) การตรวจการปนเปื้อนของฟอร์มาลีนในสัตว์น้ำ
ส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมประมง และต่อเนื่อง – ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมประมงที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ท่าเทียบเรือประมงระนอง ได้แก่ โรงงานปลาป่น จำนวน 2 โรง อู่เรือ-คานเรือ 1 แห่ง โรงงานแปรรูปขนาดเล็ก
ให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด และสถิติประมง– เผยแพร่ข้อมูลด้านสถิติประมง ข่าวสารด้านตลาดและราคาสัตว์น้ำ บริการผ่านเวบไซด์ www.fishmarket.co.th นอกจากนี้ยังจัดส่งข้อมูลให้กับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทยสาขาภาคใต้ พาณิชย์จังหวัดระนอง คลังจังหวัดระนอง
ให้สินเชื่อการประมง – ดำเนินการให้สินเชื่อเครื่องมืออุปกรณ์ประมงแก่ชาวประมง
การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและอื่นๆ – ให้การส่งเสริมอาชีพประมง โดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนประมง การดำเนินงานประสานงานกับสมาคมประมงชาวประมงระนอง ตลอดจนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ ควบคุมดูแลการจำหน่ายน้ำมันม่วงตาม โ ครงการจำหน่ายน้ำมันราคาถูกให้กับชาวประมงในเขตจังหวัดระนอง และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
ท่าเทียบเรือประมงระนองได้รับมอบอำนาจจากกรมประมงให้เป็นหน่วยงานในการออกใบรับรองการซื้อขายสัตว์น้ำ (Marine Catch Purchasing Document: MCPD) สำหรับเรือประมงที่เข้ามาขนถ่ายและจำหน่ายสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือประมงระนอง ตามมาตรการด้านระบบการตรวจสอบและควบคุมการทำประมง IUU ( Illegal , Unreported , and Unregulated Fishing) ของรัฐาบาล ซึ่งเป็นมาตรการที่สหภาพยุโรปได้นำมาใช้กับประเทศไทย
เป้าหมายตามยุทธศาสตร์
- เป็นท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานด้านสุขอนามัย
- เป็นศูนย์กลางการซื้อขายสินสัตว์น้ำชายแดนเพื่อการบริโภคและการส่งออกในภูมิภาค
สถิติที่สำคัญ
ปีงบ ประมาณ |
ปริมาณ สัตว์น้ำ (ตัน) |
มูลค่าสัตว์น้ำ
(ล้านบาท) |
ปริมาณเรือ
(ลำ) |
ปริมาณ ยานพาหนะนำออก (เที่ยว) |
2550 | 55,435 | 3,479,502,502 | 3,066 | 7,265 |
2551 | 63,367 | 3,443,420,664 | 2,981 | 5,983 |
2552 | 56,017 | 3,206,563,087 | 3,595 | 5,553 |
2553 | 47,929 | 3,236,870,569 | 3,358 | 5,172 |
2554 | 35,940 | 2,502,460,808 | 2,778 | 2,764 |
2555 | 36,076 | 2,284,035,787 | 2,417 | 2,958 |
2556 | 27,351 | 1,557,529,077 | 2,531 | 3,024 |
2557 | 26,679 | 1,477,903,862 | 2,325 | 3,094 |
2558 | 21,387 | 1,110,747,148 | 2,142 | 2,844 |
2559 | 21,376 | 1,104,690,629 | 2,165 | 3,220 |
2560 | 22,366 | 1,105,471,831 | 2,647 | 4,433 |
2561 | 14,572 | 634,321,735 | 1,200 | 4,777 |
ประเภทสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่ ปลาครุดคาด ปลาทูลัง ปลาหมึกทุกชนิดและปลาเบญจพรรณ ปลาทรายแดง
ประเภทเรือประมงที่สำคัญ ได้แก่ เรืออวนลาก เรือเบ็ด และเรือลำเลียงสัตว์น้ำจากเมียนม่า
ผลการดำเนินงาน
ปีงบ ประมาณ |
รายได้ | รายจ่าย | กำไร/ขาดทุน |
2550 | 12,936,306.57 | 8,390,900.26 | 4,545,406.31 |
2551 | 12,095,695.48 | 9,286,907.01 | 2,808,788.47 |
2552 | 11,967,067.15 | 8,805,715.75 | 3,161,351.40 |
2553 | 15,333,927.35 | 7,808,918.29 | 7,525,009.06 |
2554 | 12,070,307.52 | 6,606,831.66 | 5,463,475.86 |
2555 | 13,221,024.77 | 7,022,129.73 | 6,198,895.04 |
2556 | 10,286,680.81 | 7,479,165.86 | 2,807,514.95 |
2557 | 10,113,515.75 | 8,685,118.69 | 1,428,397.06 |
2558 | 14,449,608.27 | 9,256,532.27 | 5,193,076.00 |
2559 | 9,857,864.38 | 4,431,522.78 | 5,426,341.60 |
2560 | 12,062,809.27 | 8,534,836.82 | 3,527,972.45 |
หมายเหตุ : ปี 2556 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
โครงการที่สำคัญ
– โครงการปรับปรุงสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงระนอง งบประมาณ 265,071,100 บาท โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ
1.เพื่อรองรับเรือประมงที่เข้าไปทำประมงในน่านน้ำประเทศเมียนม่า
2.เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น โดยการสร้างงาน
3.เพื่อสร้างรากฐานและขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
4.เพื่อรักษาสถานภาพการส่งออก รวมทั้งการเพิ่มรายได้จากการส่งออก
5.เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรอบ โครงการนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณานำเสนอรัฐบาลเพื่อจัดสรรงบประมาณการก่อสร้าง
– โครงการพัฒนาศักยภาพท่าเทียบเรือประมงระนอง – ก่อสร้างตลาดสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค โดยเน้นให้เป็นตลาดสุขอนามัยของจังหวัด
– โครงการพัฒนาที่ดิน 45 ไร่ – บริเวณปากน้ำระนองให้เป็นท่าเทียบเรือสำหรับเรือประมงนอกน่านน้ำ คลังจำหน่ายน้ำมันเพื่อการประมง ห้องเย็น